fbpx
  • ลำดับพิธีงานหมั้นเช้า

    ลำดับพิธีงานหมั้นเช้า ในแบบของไทยนั้น มีขั้นตอนและลำดับพิธีตามที่ปฏิบัติกันมาตามประเพณี ซึ่งคู่บ่าวสาวหลายๆคู่จะสับสนในลำดับขั้นตอน และการเตรียมตัว วันนี้ กาเซโบ้ การ์เด้น มีลำดับขั้นตอนพิธีหมั้นแบบไทยมาฝากกันค่ะ 1. พิธีสงฆ์ (เริ่มเวลาประมาณ 7.00 น.) พิธีสงฆ์ถือเป็นพิธีแห่งความเป็นสิริมงคล ดังคำกล่าวที่ว่า “ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน” โดยคู่บ่าวสาวจะร่วมกันจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวอาราธนาศีล5 รับศีล5 สวดมนต์ และตักบาตร จากนั้นจะเป็นการถวายดอกไม้ธูปเทียน และ เครื่องปัจจัยไทยธรรม พร้อมทั้งรับน้ำมนต์จากพระสงฆ์ เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคล ในพิธีเช้ามักจะให้บ่าวสาวประเคนภัตตาหารแก่พระสงฆ์เพื่อเป็นการจบพิธีสงฆ์ไปเลยทีเดียว    2. พิธีแห่ขันหมากและกั้นประตู (เริ่มเวลาประมาณ 8.19 น.) พิธีแห่ขันหมาก เป็นพิธีที่เปรียบเสมือนฝ่ายเจ้าบ่าวยกขบวนครอบครัวมาที่บ้านฝ่ายหญิงเพื่อดำเนินการสู่ขอเจ้าสาว โดยจะมีพานของมงคลต่างๆทั้งขันหมากเอกและขันหมากโท โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ในการถือพานต่างๆให้กับผู้ใหญ่ ญาติหรือเพื่อนๆฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นคนช่วยดูแล  สำหรับฝ่ายหญิงก็จะเตรียมผู้กั้นประตู เพื่อให้ทางฝ่ายเจ้าบ่าวได้ผ่านด่านเพื่อเข้าไปถึงตัวของเจ้าสาวให้ได้ โดยจะมีเถ้าแก่ของฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นผู้ร่วมเจรจาผ่านด่านต่างๆ โดยมักจะเตรียมซองเงินเพื่อให้กับผู้กั้นประตูเพื่อเป็นค่าผ่านทางด้วย โดยผู้กั้นประตูมักจะคิดเกมส์หรือกิจกรรมต่างๆมาให้ฝ่ายเจ้าบ่าวของเราพิสูจน์รักกันด้วยความสนุกสนาน 3.พิธีสู่ขอ รับตัวเจ้าสาวและนับสินสอด (เริ่มเวลาประมาณ 8.45 น.) เมื่อทางฝ่ายเจ้าบ่าวยกขันหมากมาเรียบร้อยแล้ว ทางเถ้าแก่ของทั้ง 2 ฝ่ายก็จะเริ่มมีการเจรจาสู่ขอกัน เมื่อผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงตกลงยินยอมแล้ว เจ้าบ่าวจะรับตัวเจ้าสาวเพื่อมาร่วมพิธีนับสินสอดร่วมกัน ในพิธีนับสินสอดนั้น จะมีการจัดวางสินสอดที่ทางฝ่ายเจ้าบ่าวเตรียมมาบนผ้าเงินผ้าทองหรือผ้าแดง และญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าสาวจะร่วมกันพิจารณาสินสอดที่นำมา เมื่อเรียบร้อยดี ผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายจะนำใบเงินใบทองใบนาค รวมถึงข้าวตอกดอกไม้โรยบนสินสอด เพื่อเป็นเคล็ดให้ทุกอย่างเจริญงอกเงยเพิ่มมากขึ้น ต่อมา ทางฝ่ายแม่ของเจ้าสาวจะยกสินสอดและนำขึ้นไว้บนบ่าตามประเพณี และนำสินสอดให้คนที่ไว้ใจได้เก็บรักษาต่อไป 4. พิธีสวมแหวน (เริ่มเวลาประมาณ 9.09 น.) เมื่อถึงเวลาอันเป็นมงคล เจ้าบ่าวจะนำแหวนที่เตรียมมาสวมให้กับฝ่ายเจ้าสาว และเจ้าสาวก็จะแลกเปลี่ยนโดยการสวมแหวนให้กับฝ่ายเจ้าบ่าวเช่นกัน โดยพิธีสวมแหวนนี้จะเป็นพิธีที่แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองตกลงปลงใจเป็นคู่กันอย่างแน่นอน โดยมีสักขีพยานร่วมรับรู้เป็นทั้งญาติผู้ใหญ่และแขกที่มาร่วมงานนั่นเอง 5. พิธีรับไหว้ (เริ่มเวลาประมาณ 9.25 น.) พิธีรับไหว้ เป็นพิธีที่คู่บ่าวสาวจะกราบขอบคุณและฝากเนื้อฝากตัวกับแขกผู้ใหญ่ โดยบ่าวสาวจะเตรียมของที่ระลึกให้สำหรับผู้ใหญ่ที่ขึ้นรับไหว้ และแขกผู้ใหญ่ก็จะให้พร และนำซองหรือของมีค่าอื่นๆใส่ลงในพานธูปเทียนแพรที่คู่บ่าวสาวนำมากราบขอบคุณ เพื่อถือเป็นขวัญถุงสำหรับการสร้างเนื้อสร้างตัวของคู่บ่าวสาว 6. พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร (เริ่มเวลาประมาณ 10.00 น.) ในพิธีนี้ ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ทำการคล้องพวงมาลัย เจิมหน้าผากและสวมมงคลแฝดให้กับคู่บ่าวสาว โดยแป้งเจิมที่ใช้ จะผ่านการทำพิธีจากพระสงฆ์ในช่วงเช้ามาก่อนแล้ว…